WEBSITE CREATOR

หลายสิ่งหลายอย่าง เมื่อเราเรียนรู้มันแล้วไม่บันทึกไว้เสียบ้าง ก็จะลืมเลือนไป หลายอย่าง ที่เราเรียนรู้ได้จากบุคคลอื่น เริ่มจากสิ่งที่เล็กๆ ใกล้ตัว แล้วค่อยสะสมมากขึ้นมาก และเมื่อความรู้ของหลายๆ คน มาเรียงร้อยด้วยกัน ก็จะกลายเป็นที่รวมองค์ความรู้ต่างๆ เป็นหมวดหมู่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกัน จึงสามารถสร้างสรรความเจริญให้เกิดขึ้นได้แน่นอน

เว็บไซต์นี้ รวบรวมความรูและประสบการณ์จากการใช้ google sites ในการสร้างเว็บไซต์ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจตามสมควร จะทะยอยเขียนบันทึกไปเรื่อยๆ เท่าที่มีเวลาเพียงพอ

เครื่องมือมีอะไร

ใน Google sites มีเครื่องมือสร้างเว็บหลายอย่างให้คุณเลือกแบบง่าย ก่อนอื่นลองมาดูตัว Google Gadgets ของเขาก่อน เพราะว่าตัวนี้ หลายคนอาจจะสนใจ แต่ยังใช้ไม่เป็น

Review http://sites.google.com/site/awebtutorial/ on alexa.com
P&T Hosting Co., Ltd. :: บริการ | จดโดเมนเนม | เว็บโฮสติ้ง | VPS | Co-location |

การสร้าง GOOGLE GADGET

- หากจะรอเวลาเขียนคงจะนาน ขอฝากลิงก์เอาไว้ก่อนกันลืม

* เวลาสร้างเว็บ คุณเคยมีปัญหา ในการแทรกโค๊ด ลงในในเว็บบ้างไหม โดยเฉพาะใน Sites google คุณจะแทรกโค๊ดประเภท Iflame หรือ java Script ไม่ค่อยได้ ยกตัวอย่าง เช่น คุณจะใส่ ตัวนับจำนวนผู้ชม จาก histats.com หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ใส่ Google Searh ในการค้นข้อมูลเป็นต้น วิธีการหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหานี้ ก็คือ การสร้าง google gadget ขึ้นมาก่อน แล้วค่อยนำไปใช้งานใน google sites ต่อไปเน่นเอง

เริ่มต้นที่ไหนดี

กูเกิ้ลไซต์ จะช่วยให้คุณเริ่มต้นสร้างเว็บอย่าง ง่ายที่สุด แต่หน้าตาเว็บคุณสามารถเลือก หรือตกแต่งได้อย่างมืออาชีพ ในพื้นที่มากถึง 100 เม็ก คุณเริ่มต้นได้ง่ายๆ ดังนี้ครับ

กำหนดชื่อไซต์ และสร้างหน้าเว็บแรก

สร้างหน้าเว็บรองลองไป ไม่ต้องกังวล โปรแกรมจะสร้างเมนูให้อัตโนมัติ หรือจัดการภายหลังก็ได้

เลือกประเภทหน้าเว็บที่คุณจะสร้าง: หน้าเว็บธรรมดา, แบบประกาศ, ตู้เก็บไฟล์ เป็นต้น

ใส่ชื่อไซต์ให้เรียบร้อยด้วย

กำหนดว่าจะเก็บหน้าที่คุณสร้างขึ้น ไว้ดูคนเกียว หรือให้คนอื่นเข้าดูได้

เนื้อหาที่คุณสร้างขึ้น จะถูกบรรจุไว้ในฐานข้อมูลการค้นหาในลำดับต่อไป ถ้าคุณอนุญาต

อ่านแล้วคุณต้องงแน่ๆ เลย ไหนบอกว่าไม่ยากไง เอาหละอดใจรอ ผมจะขยายความต่อไป

การสมัครใช้งาน

แน่นอนครับ ก่อนที่คุณจะทำอะไรได้ในเว็บไซต์นี้ คุณต้องไปสมัครใช้งานกับเว็บไซต์ google.com หรือ google.co.th ก่อน ด้วยการสมัครใช้ gmail.com (ผมแนะนำให้คุณใช้ gmail เพราะจะมีรายละเอียดอีกเยอะที่ต้องทำงานกันต่อไป)

หากคุณยังไม่มีบัญชีของอูเกิ้ล คลิกสมัครที่นี่เลย

ตัวอย่าง

ต่อไปนี้ คือตัวอย่างอย่างง่ายในการเข้าระบบ สมมุติว่าคุณสมัครใช้งาน google แล้ว อ่านต่อ

create site button

ลงมือสร้างไซต์

เมื่อคุณสมัครเป็นสมาชิกกูเกิ้ลแล้ว ก็พร้อมที่จะสร้างเว็บไซต์กับ Google Sites แล้ว ไปกันเลยครับ:

  1. คลิกที่ปุ่ม Create site
  1. ใส่ชื่อไซต์ลงไป พร้อม URL ที่ต้องการ (ตัวอย่าง, sites.google.com/site/thaibancor) จะเป็นการดีถ้าเราตั้ชื่อไซต์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเว็บไซต์ ชื่อไซต์นี้เปลี่ยนแปลงภายหลังไม่ได้, ยกเว้นว่าคุณได้ลบทันทิ้งไปแล้ว และไม่ซ้ำกับของคนอื่น
  2. ติ๊กช่อง checkbox ทำเครื่องหมายด้วย หากเว็บไซต์ของคุณมีเนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
    1. เลือก : 'ทุกคนในโลกสามารถดูเว็บไซต์นี้' หรือ 'เฉพาะบุคคลที่ฉันระบุสามารถดูเว็บไซต์นี้.'('Everyone in the world can view this site' or 'Only people I specify can view this site.')
  3. เลือกทีม หรือเทมเพลต ที่คุณชอบ
  4. ใส่ตัวอักษรตามรูปภาพที่คุณเห็น, แล้วคลิกปุ่ม Create site

หมายเหตุ : คุณสามารถสร้างหน้าเพจอื่น ในไซต์นี้ด้วยการคลิกทีปุ่ม Create page

create page button

จากนั้นคุณก็ใส่ชื่อเพจ เลือกประเภท: webpage, dashboard, announcement, file cabinet, หรือ list(เดี๋ยวค่อยมาพูดเรื่องนี้กันต่อไป) กรอกข้อมูลครบแล้วก็กดปุ่ม Create Page ที่ท้ายแบบฟอร์สร้างเพจนี้ได้เลย

อ้างอิง : http://sites.google.com/support/bin/static.py?page=guide.cs&guide=23216&topic=23222

วีดีโอประกอบการสร้างไซต์

edit page

ปรับแก้ไซต์ให้เหมาะสม

การแก้ไขไซต์, คลิกปุ่ม Edit Page ที่มุมขวาบนของจอดังภาพ

จาปรากฎแถบเครื่องมือสำหรับการแก้ไขขึ้นมา คล้ายๆโปรแกรมเวอร์ดที่เราค้นเคย วิธีใช้ก็คล้ายกัน

Sites toolbar

มาดูการใช้เครื่องมือบนแถบเมนูนี้กันครับ:

ยกเลิกที่ทำไป หรือทำซ้ำที่ทำไป

ใช้ลูกศรชีไปทางซ้าย แทน Undo และลูกศรไปทางขวาแทน Redo หรือใช้คีย์ลัด ที่คีย์บอร์ด ดังนี้ :

  • Undo (Ctrl-z)
  • Redo (Ctrl-y or Shift-Ctrl-z)

เปลี่ยนขนาดอักษร

เลือก font type และ font size จากเมนู drop-down ทั้ง 2 ช่องบนแถบเครื่องมือตามลำดับ

แก้ไขข้อความ

จัดตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ สีตัวอักษร สีพื้นหลังตัวอักษร ตัวนำหน้า จัดข้อความ ได้การใช้เหมือนเวอร์ด อันนี้คงไม่ยากอะไร

  • B ตัวหนา
  • I ตัวเอียง
  • U ขีดเส้นใต้
  • A สีตัวอักษร
  • ทำสีพื้นหลังตัวอักษร

สร้างลิงก์

ทำ Highlight บนข้อความที่ต้องการทำลิงก์ แล้วคลิกปุ่ม Link บนแถบเครื่องมือ จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาให้สร้างลิงก์ 3 ทางเลือกด้วยกัน คือ

  • Existing page คือ เพจที่คุณสร้างในเว็บไซต์นี้ (หรือกด Search pages เพื่อค้นหา)
  • Web address คือ เว็บเพจจากภายนอก ให้คุณใส่ URL เต็ม
  • Create new page เพื่อสร้างเพจที่จะลิงก์ขึ้นมาใหม่

เสร็จแล้วกดปุ่ม OK เลือก Open this link in a new window ถ้าต้องการให้ลิงก์นี้เปิดในหน้าต่างใหม่

add link

สร้างรายการลิสต์

คลิกปุ่ม Numbered หรือปุ่ม Bulleted list แล้วแต่สิ่งที่คุณต้องการสร้าง ใส่หัวข้อเรื่อง(item) กด Enter

การแก้หรือโยกย้ายรายการลิสต์

คลิกสองปุ่มถัดจากลำดับการเยื้องหรือย้ายกลับไปจุดเริ่มต้นในการเพิ่มหัวข้อย่อยหรือรายการหมายเลข. คลิกสองครั้งเพื่อย้ายรายการละสองช่องว่างและเพื่อออก.

จัดเรียงข้อความ

อันนี้ก็จัดได้เหมือนโปรแกรม เวอร์ด ไม่ยากอะไร

การแก้ไข้ HTML หรือการเอารูปแบบออก

คุณสามารถลบการจัดรูปแบบจากส่วนหนึ่งของหน้าใดๆโดยเน้นข้อความที่เกี่ยวข้องและคลิกที่ไอคอนนี้.

คลิกปุ่ม HTML เพื่อแก้ไข HTML ในเว็บไซต์ของคุณ. โปรดทราบว่าเราจะจำกัดจำนวนการแก้ไขที่สามารถทำได้. บางเข้ารหัสขั้นสูงจะไม่ทำงาน เช่น Java script, การใส่เฟรม เป็นต้น (วิธีหลีกเลี่ยง คุณสามารถสร้าง gadget ขึ้นมาใช้ง่นเแทน)